รายละเอียดรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม คืออะไร ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปได้ดีที่สุด จริงหรือไม่?

วันนี้คุณหมอจะมาแนะนำให้รู้จักกับรากฟันเทียม จุดเด่น ประสิทธิภาพ และประโยชน์ ว่าสามารถใช้รักษาแบบไหนได้บาง

ก่อนจะตัดสินใจทำรากฟันเทียม คุณหมออยากแนะนำให้อ่านบทความต่อไปนี้ ที่รวบรวมเรื่องราวของรากฟันเทียม พร้อมโปรโมชั่นราคาสุดคุ้ม และภาพตัวอย่างในการรักษารากฟันเทียมแบบต่างๆ ซึ่งคนไข้สามารถปรึกษาการใส่รากฟันเทียม กับทันตแพทย์เฉพาะทางด้านรากฟันเทียม ที่คลินิกทันตกรรมเด็นทัลไลฟ์

รากฟันเทียม คืออะไร?

รากฟันเทียม (dental implant) คือ วิธีการที่ดีที่สุดในการทดแทนการสูญเสียฟันแท้ไปด้วยการใส่รากฟันเทียมที่ทำจากโลหะไทเทเนียม เพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป เพื่อใช้รองรับฟันปลอม, ครอบฟัน หรือสะพานฟัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดทั้งการบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความสวยงาม

รากฟันเทียม ทำจากอะไร?

รากฟันเทียมที่ใช้ในปัจจุบันทำมาจากวัสดุโลหะ ที่ใช้เทคโนโลยีพัฒนาเพื่อให้มีคุณสมบัติเข้ากันได้กับร่างการคนเราได้เป็นอย่างดี ช่วยในการยึดติดกับกระดูกและรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี

  1. ไทเทเนียม (Titamium): เป็นวัสดุที่นิยมนำมาผลิตรากฟันเทียมมากที่สุดในปัจจุบัน
  2. Roxolid: เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Straumann ซึ่งเป็นโลหะผสมของเซอร์โคเนียและไทเทเนียม ทำให้ได้รากฟันเทียมที่แข็งแรงและรองรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่าวัสดุไทเทเนียมทั่วไป
  3. Pure zirconia: เป็นเซรามิกสีขาว สามารถใช้ในคนไข้ที่แพ้โลหะ

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม

  1. รากฟันเทียม: ส่วนที่อยู่ในกระดูกขากรรไกร มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่แทนรากฟันจริง เป็นหลักยึดให้ส่วนอื่น
  2. Abutment: ส่วนแกนที่ต่อจากรากฟันเทียม ยึดด้วยสกรู ทำจากไทเทเนียมหรือเซอร์โคเนีย มีหน้าที่เป็นหลักยึดให้ครอบฟัน สะพานฟัน หรือ ฟันปลอม
  3. Prosthesis: ส่วนของครอบฟัน สะพานฟัน หรือ ฟันปลอม จะยึดอยู่กับส่วนของ abutment ด้วยกาว หรือ สกรู

รากฟันเทียมเหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่สูญเสียฟันจากอุบัติเหตุ
  3. ผู้ที่มีฟันผุ ฟันแตก ฟันหัก หรือ รากฟันร้าว ซึ่งไม่สามารถรักษาได้
  4. ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้
  5. ผู้ที่ใส่ฟันปลอดถอดได้ทั้งปาก และพบปัญหาฟันปลอมหลวม หรือเจ็บเวลาใช้งาน
  6. ผู้ที่ไม่ต้องการทำสะพานฟัน
  7. ผู้ที่มีสุขภาพดี หรือมีโรคประจำตัวแต่ควบคุมได้

เมื่อมีฟันหายไป จะส่งผลอย่างไร

  1. ฟันข้างเคียงจะเคลื่อนหรือล้มเข้ามาปิดช่องว่าง ทำให้ฟันล้มเอียง มีปัญหาเศษอาหารติดง่ายขึ้น ส่งผลให้ฟันผุ หรือ เป็นโรคเหงือก และโรคปริทันต์ได้ง่าย
  2. ฟันข้างเคียงเคลื่อนเข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันห่าง เกิดเป็นช่องว่างในบริเวณอื่นได้
  3. ฟันคู่สบจะเคลื่อนตัวมาในช่องปาก ทำให้ฟันยื่นยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟัน และฟันโยกได้ ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจทำให้สูญเสียฟันซี่นั้นไป
  4. ฟันที่เหลืออยู่ มีจำนวนน้อยลง แต่รับแรงบดเคี้ยวเท่าเดิม ทำให้ฟันที่เหลือต้องรับแรงมากขึ้น ส่งผลให้ฟันแตกร้าวได้
  5. การสูญเสียฟันหลัง จะทำให้ความสูงของใบหน้าสั้นลง ทำให้ดูมีอายุมากขึ้นและมีริ้วรอย
  6. การสูญเสียฟันหน้า จะทำให้ขาดความมั่นใจ เห็นช่องว่างฟันหลอ เสียบุคลิกภาพ และส่งผลต่อการพูดออกเสียงไม่ชัด

ข้อดีของรากฟันเทียม

  1. ป้องกันฟันล้ม หรือ เคลื่อนที่เข้าหาช่องว่าง
  2. ช่วยรับแรงบดเคี้ยว ทำให้เคี้ยวอาหารได้สะดวก และรับประทานอาหารได้ปกติ
  3. ช่วยในการพูดคุย และออกเสียงได้ชัดขึ้น
  4. เพิ่มความมั่นใจ เสริมบุคลิกภาพที่ดี ช่วยให้ยิ้มและพูดคุยได้อย่างมั่นใจ
  5. ช่วยเพิ่ม หรือคงความสูงของใบหน้า ทำให้ใบหน้าดูเด็กลง
  6. ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ลดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในช่องปาก
  7. การทดแทนฟันด้วยรากฟันเทียมจะมีความเป็นธรรมชาติมากกว่างการใส่ฟันปลอมชนิดอื่นๆ
  8. มีความคงทนถาวร

ข้อจำกัดของรากฟันเทียม

  1. ราคาสูงกว่าการใส่ฟันปลอมแบบอื่น
  2. คนไข้เด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ต้องรอให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์ก่อน ถึงอายุประมาณ 18-20 ปี
  3. ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน อาจจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จลดลง
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานอย่างบางชนิดที่มีผลต่อการผ่าตัด อาจจะไม่สามารถทำได้
  5. การทำรากฟันเทียมใช้เวลาในการรักษานานกว่าการใส่ฟันชนิดอื่น

ทำไมต้องทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียม ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการใส่ฟันปลอมแบบต่างๆ โดยเฉพาะฟันปลอมติดแน่น เเพื่อทดแทนฟันที่หายไป เนื่องจากสามารถเข้ากันได้ดีกับร่างกาย และเมื่อยึดติดกับกระดูกดีแล้ว สามารถใช้รองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี นอกจากนี้ในกรณีที่คนไข้มีฟันปลอมถอดได้ แต่มีปัญหาฟันปลอมหลวม ยังสามารถใช้รากฟันเทียม เพื่อช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อแตกต่างระหว่างรากฟันเทียมและฟันปลอมชนิดอื่น

รากฟันเทียมต่างจากฟันปลอมถอดได้อย่างไร

  1. รากฟันเทียมเป็นฟันปลอมติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้า-ออก ไม่มีปัญหาใส่ไม่สบาย หรือรู้สึกเทอะทะ หรือ เคี้ยวอาหารแล้วเจ็บ
  2. รากฟันเทียมมีประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารดีกว่า
  3. รากฟันเทียมให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และมีความสวยงามมากกว่า

รากฟันเทียมต่างจากสะพานฟันอย่างไร

  1. รากฟันเทียมไม่ต้องมีการกรอฟันข้างเคี้ยง เพื่อเป็นหลักยึดของสะพานฟัน ทำให้ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันซี่อื่นๆ
  2. รากฟันเทียมสามารถดูแลรักษาความสะอาดได้ง่ายกว่า สามารถใช้ไหมขัดฟันได้เหมือนฟันธรรมชาติ
  3. การทำสะพานเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่ายกว่า

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

แบ่งตามจำนวนซี่ฟันที่ใช้รากฟันเทียมทดแทน

ทดแทนฟัน 1 ซี่

เป็นการใส่รากฟันเทียม 1 ราก และทำครอบฟันบนรากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันซี่นั้นๆที่หายไป

ทดแทนฟันที่หายไปหลายซี่

1. ใช้รากฟันเทียม 1 ราก และทำครอบฟันบนรากฟันเทียม ทดแทนฟันซี่ต่อซี่
ทำให้ง่ายต่อการดูแล ทำความสะอาด และการบำรุงรักษา หากมีปัญหา สามารถแก้ไขได้ทีละซี่

2. การทำสะพานฟันบนรากฟันเทียม
กรณีที่คนไข้ มีฟันหายไปติดกันหลายซี่ สามารถพิจารณาใส่รากฟันเทียมเป็นหลักหัว-ท้าย และทำสะพานฟันบนรากฟันเทียม เพื่อลดจำนวนรากฟันเทียม ช่วยหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่สามารถใส่รากฟันเทียมได้ และลดค่าใช้จ่ายให้คนไข้

3. การใช้รากฟันเทียมเพื่อช่วยยึดฟันปลอมถอดได้บางส่วน
กรณีที่คนไข้ต้องการทำฟันปลอมถอดได้บางส่วน แต่ฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ไม่สามารถใช้เป็นหลักยึดของตะขอ หรือมีหลักยึดไม่พอ ทำให้ฟันปลอมหลวมหลุด หรือเคี้ยวเจ็บ สามารถใช้รากฟันเทียม พร้อมกับหลักยึดฟันปลอม

ช่วยในการยึดฟันปลอมถอดได้ให้ติดแน่น ไม่หลวมหลุด หรือเคี้ยวเจ็บระหว่างการใช้งาน

ทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก

1. การใช้รากฟันเทียมช่วยยึดฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก
ใช้รากฟันเทียม 2-4 ราก ต่อขากรรไกร เพื่อช่วยยึดฟันปลอมถอดได้ให้ติดแน่น ไม่หลวมหลุดง่าย ลดปัญหาการเจ็บระหว่างการเคี้ยวอาหาร และช่วยทำให้ฟันปลอมถอดได้มีขนาดเล็กลงลดความรำคาญ

2. การใช้รากฟันเทียมยึดฟันปลอมติดแน่น (All-on-4 / All-on-6)
ใช้รากฟันเทียม 4-6 ราก ต่อขากรรไกร เพื่อยึดฟันปลอมติดแน่นทันทีหลังการฝังรากฟันเทียม ทำให้คนไข้สามารถมีฟันปลอมติดแน่นได้ในทันที

3. การใช้รากฟันเทียมและสะพานฟันทั้งปาก
ใช้รากฟันเทียม 8-10 ราก ต่อขากรรไกร เพื่อทำสะพานฟันทั้งปาก สำหรับทดแทนฟัน 12-14 ซี่ ซึ่งจะได้ฟันที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติที่สุด

แบ่งตามระยะเวลาที่ใส่รากฟันเทียม

• การใส่รากฟันเทียมแบบมาตรฐาน

          การใส่รากฟันเทียมแบบมาตรฐาน จะทำหลังจากถอนฟันมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน และหลังจากใส่รากฟันเทียมแล้ว ต้องรอประมาณ 3 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกอย่างสมบูรณ์ จึงจะเริ่มขึ้นตอนการscan ฟัน หรือ พิมพ์ปาก เพื่อทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมถอดได้ที่จะมายึดต่อกับรากฟันเทียม

          การใส่ฟันแบบนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่การทดแทนฟัน 1 ซี่, หลายซี่ หรือ ทดแทนทั้งปาก

• การใส่รากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน

          การใส่รากฟันเทียมทันทีพร้อมกับการถอนฟัน สามารถทำได้ในทุกบริเวณ แต่จะต้องมีกระดูกเพียงพอที่จะยึดรากฟันเทียมอยู่ได้

          ข้อดีของการใส่รากฟันเทียมด้วยวิธีนี้ คือช่วยจำนวนครั้งในการผ่าตัด ลดระยะเวลาการรักษา ทำให้คนไข้ได้ใส่ฟันเร็วขึ้น และลดโอกาสที่จะเกิดการละลายตัวของกระดูก หรือเหงือกร่นลงได้

• การใส่ฟันทันทีหลังใส่รากฟันเทียม

          คือการใส่ครอบฟัน หรือสะพานฟันทันทีหลังจากที่ใส่รากฟันเทียม ทำให้คนไข้มีฟันได้ทันที เช่นการใส่รากฟันเทียม 1 ซี่ และใส่ครอบฟันทันที หรือ การทำ All-on-4 โดยการใส่รากฟันเทียม 4 ซี่ พร้อมยึดฟันปลอมติดแน่นทันที

          วิธีการนี้มีข้อจำกัด ทันตแพทย์ต้องประเมิน กระดูก เหงือก และการสบฟันของคนไข้ เพื่อวางแผนอย่างใกล้ชิด ว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับวิธีการรักษานี้หรือไม่

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

  1. ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม จะต้องมีการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาโดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทางด้านรากฟันเทียม เพื่อพูดคุย ทำความเข้าใจขั้นตอนการรักษาต่างๆและ และเลือกรากฟันเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. กรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว และมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ให้รับประทานยามาให้เรียบร้อย
  4. กรณีที่คนไข้ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ข้อเทียม หรือมีการแพ้ยา ต้องแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบ
  5. ทำใจให้สบาย

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

1. การปรึกษาการทำรากฟันเทียม

   เข้ารับการปรึกษากับทันตแพทย์ เพื่อตรวจดูการสบฟัน สภาพกระดูก และเหงือกของคนไข้ ร่วมกับทำการ x-ray และ CT scan เพื่อประเมินปริมาณกระดูก และตำแหน่งของเส้นประสาท สำหรับการกำหนดตำแหน่งและเลือกขนาดของรากฟันเทียม

2. การทำศัลยกรรมก่อนทำรากฟันเทียม

   หากคนไข้มีกระดูกไม่เพียงพอ ทันตแพทย์จะวางแผนสำหรับการปลูกกระดูก หรือการยกโพรงอากาศ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นกับปริมาณกระดูกที่เหลืออยู่ โดยทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่

2.1 การทำก่อนการฝังรากฟันเทียม: หากคนไข้มีปริมาณกระดูกเหลือน้อย ไม่เพียงพอที่จะให้รากฟันเทียมยึดติดได้ จำเป็นต้องได้รับการปลูกกระดูกก่อน ซึ่งหลังจากปลูกกระดูกแล้ว ต้องรอประมาณ 3-9 เดือนขึ้นกับปริมาณกระดูกที่เติมเข้าไป จึงจะเริ่มฝังรากฟันเทียมได้

2.2 การทำพร้อมกับการฝังรากฟันเทียม: หากคนไข้มีกระดูกเเพียงพอที่จะให้รากฟันเทียมยึดติดได้ แต่อาจจะมีไม่พอในบางส่วน สามารถปลูกกระดูกพร้อมกับการฝังรากฟันเทียมได้ในครั้งเดียวกัน

3. การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

  • การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

ทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยทันตแพทย์จะปิดแผลทุกอย่างไว้ใต้เหงือก หรืออาจจะใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก(สำหรับรองรับครอบฟัน) และเย็บปิดแผล หลังจาก1-2 สัปดาห์ จะนัดคนไข้เข้ามาเพื่อตัดไหม

  • หลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

กรณีที่ใส่ครอบฟัน หรือ ฟันปลอมติดแน่นได้ทันที ทันตแพทย์จะทำการต่อครอบฟัน หรือฟันปลอมเข้ากับรากฟันเทียมทันที แต่ในกรณีที่ไม่ได้ใส่แบบทันที  ต้องรอให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกประมาณ 3 เดือน ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการใส่ฟัน

4. การใส่ฟันบนรากฟันเทียม

  • เมื่อครบ 3-6 เดือน ทันตแพทย์จะนัดคนไข้มาทำการตรวจ X-ray และทำ CT scan เพื่อตรวจเช็คการยึดของรากฟันเทียม
  • หากในขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์ยังไม่ได้ใส่เครื่องมือสร้างร่องเหงือก ทันตแพทย์จะทำการเปิดแผลเล็กๆ ภายใต้ยาชา เพื่อใส่เครื่องมือสร้างร่องเหงือก และทิ้งไว้อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ก่อนจะเริ่มพิมพ์ปาก หรือ scan ฟัน เพื่อทำครอบฟัน หรือฟันปลอมต่อไป
  • เมื่อรากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกดีแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ปาก หรือ Scan ฟัน เพื่อทำครอบฟัน หรือ ฟันปลอม
  • หลังจาก 1-2 สัปดาห์ จะนัดคนไข้กลับมาเพื่อใส่ครอบฟัน หรือ ฟันปลอม
  • คนไข้ต้องกลับมาตรวจสุขภาพฟัน และรากฟันเทียม 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และปีละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม

          ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียมขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของรากฟันเทียม ความหนาแน่น และปริมาณของกระดูก ปริมาณและคุณภาพของเหงือกรอบๆรากฟันเทียม

          ในเคสที่คนไข้มีกระดูกและเหงือกสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ตั้งแต่เริ่มฝังรากฟันเทียมจนใส่ฟันเสร็จเรียบร้อย สำหรับเคสที่ต้องมีการปลูกกระดูก หรือปลูกเหงือกร่วมด้วย ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 เดือน ถึง 1 ปี

การใส่รากฟันเทียมภายใน 1 วัน

          การทำรากฟันเทียมเสร็จภายใน 1 วัน จะทำการถอนฟัน พร้อมกับฝังรากฟันเทียม และใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันชั่วคราวได้เลย ทันตแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียดและเลือกเคสที่เหมาะสม โดยสามารถทำได้ตั้งแต่การทดแทนฟัน 1 ซี่ ไปจนถึงทั้งปาก

ทำรากฟันเทียมเจ็บหรือไม่

          การทำรากฟันเทียมไม่เจ็บอย่างที่คิด เมื่อเทียบกับการถอนฟันแล้ว เจ็บน้อยกว่า หลังการผ่าตัดคนไข้สามารถใช้วิต ทำกิจกรรม ได้ตามปกติ

ระหว่างการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

          การฝังรากฟันเทียม จะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ หลังจากที่ยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว คนไข้จะไม่มีความรู้สึกขนาดผ่าตัดเลย

หลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

          หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ อาการเจ็บจะมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งที่ทำการผ่าตัด ปริมาณกระดูกและเหงือก

          ในคนไข้ที่มีกระดูกสมบูรณ์ไม่ต้องมีการปลูกกระดูก หรือปลูกเหงือกเพิ่มเติม การผ่าตัดจะทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย มีแผลเล็ก อาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยเพียง 1-2 วัน ที่สามารถควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวด

          ในกรณีที่ต้องมีการปลูกกระดูกหรือปลูกเหงือกร่วมด้วย คนไข้อาจจะมีอาการเจ็บแผลหรืออาการบวมร่วมด้วยได้ ทำให้มีระยะการพักฟื้นที่มากกว่าเล็กน้อย

การดูแลหลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

  1. ช่วง 2 อาทิตย์แรก งดการรับประทานอาหารแข็งหรือเหนียวบริเวณที่ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดช่วง 2-3 วันแรก เนื่องจากอาจจะระคายเคืองแผล
  3. อาจจะมีอาการบวมได้เป็นปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  5. ดูแลรักษาความสะอาด แปรงฟันได้ตามปกติ
  6. แนะนำให้ใช้นำยาบ้วนปากที่ผสมยาฆ่าเชื้อ ตามที่ทันตแพทย์สั่ง
  7. พบทันตแพทย์ตามนัด และทำตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

  1. ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้ หรือมีปัญหาฟันปลอมถอดได้หลวม
  2. ผู้ที่ต้องการใส่ฟันทดแทน ที่เหมือนธรรมชาติมากที่สุด
  3. ผู้ที่ฟันผุ หรือ แตกหัก และไม่สามารถบูรณะได้ ซึ่งเหมาะกับการฝังรากฟันเทียมแบบทันที
  4. ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรเต็มที่แล้ว

ใครที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

  1. ผู้ที่ได้รับยาที่มีผลต่อกระบวนการสร้างและทำลายกระดูก เช่นผู้ที่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการหายของกระดูก เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวและควบคุมไม่ได้ เช่น เบาหวาน มะเร็ง
  4. ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์

รากฟันเทียมใช้ได้นานหรือไม่

          รากฟันเทียม สามารถอยูาได้นานเกิน 20 ปีขึ้นไป เป็นวัสดุที่ทำจากไทเทเนียม แม้จะไม่สามารถผุได้เหมือนฟันธรรมชาติ แต่ยังสามารถเกิดโรคเหงือกได้ เหมือนฟันธรรมชาติ ดังนั้นรากฟันเทียมจึงยังต้องได้รับการดูแลทำความสะอาด แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน เหมือนฟันธรรมชาติ และพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คและขูดหินปูนทุก 6 เดือน จะทำให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานได้นาน

การดูแลรากฟันเทียม

  1. ดูแลทำความสะอาด แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำทุกวัน
  2. พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานของแข็ง
  4. หากคนไข้นอนกัดฟัน ควรใส่ยางกันกัดฟัน

เทคโนโลยีการทำรากฟันเทียมที่เด็นทัลไลฟ์

เอกซเรย์สามมิติ CT scan

          ที่เด็นทันไลฟ์ ทันตแพทย์ จะทำ CT scan ในคนไข้ที่ต้องฝังรากฟันเทียมทุกคน เพื่อวัดความกว้าง ความยาว และความสูงของกระดูก รวมทั้งระยะห่างต่อเส้นประสาท เส้นเลือดต่างๆ ทำให้วางแผนได้ปลอดภัยและแม่นยำ

การวางแผนกำหนดตำแหน่งการผ่าตัดรากฟันเทียมดิจิตอล

          เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวางแผนกำหนดขนาด ตำแหน่งการฝังรากฟันเทียมและตำแหน่งการใส่ฟัน ให้มีความแม่นยำที่สูงขึ้น

การสแกนฟันสำหรับการทำครอบฟันและสะพานฟัน

          ที่เด็นทันไลฟ์ ทันตแพทย์จะใช้การแสกนช่องปากด้วยเครื่องแสกน สามมิติ สำหรับการทำครอบฟันและสะพานฟัน แทนการพิมพ์ปากแบบเดิม เพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายมากขึ้น ใช้เวลาในการรักษาน้อยลง และได้ชิ้นงานครอบฟันที่มีความแม่นยำมากขึ้น

เลือกรากฟันเทียมยี่ห้อไหนดี

หลักในการพิจารณาเลือกยี่ห้อรากฟันเทียม

  1. รากฟันเทียม ที่ผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่มั่นคง เพื่อให้มีชิ้นส่วนอะไหล่ สำหรับใช้งานได้อยู่เสมอในอนาคต
  2. บริษัทรากฟันเทียมที่มีการค้นคว้า การพัฒนา และงานวิจัยรองรับที่เชื่อถือได้
  3. มีการควบคุมคุณภาพที่ดี ใช้วัสดุคุณภาพสูง

รากฟันเทียมทุกยี่ห้อที่เด็นทัลไลฟ์เลือกใช้ คือรากฟันเทียมที่มีมาตรฐานสูง เหมาะกับคนไข้หลายรูปแบบ มีปัญหาจุกจิกระหว่างการใช้งานน้อยที่สุด และใช้งานได้อย่างยาวนาน

ที่เด็นทัลไลฟ์ ทันตแพทย์จะทำการตรวจและวิเคราะห์วางแผนการรักษา เพื่อให้ได้รากฟันเทียมที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน

รากฟันเทียมที่เด็นทัลไลฟ์เลือกใช้

MIS (เยอรมัน)

          รากฟันเทียมจากเยอรมัน ที่มีมานานมากกว่า 25 ปี มีราคาไม่สูงมาก ทำให้คนไข้สามารถเลือกใช้รากฟันเทียมมาตรฐานยุโรปในราคาที่เอื้อมถึง เนื่องจากมีฐานการผลิตอยู่ที่อิสราเอล

Neodent (by Straumann) (บราซิล)

          เป็นแบรนด์รองของ Straumann ที่ใช้เทคโนโลยี เดียวกันกับ Straumann แต่มีราคาถูกกว่า เนื่องจากตั้งฐานการผลิตอยู่ที่บราซิล

Straumann (สวิตเซอร์แลนด์)

          แบ่งออกเป็น 2 รุ่น

  • Straumann Roxolid: มีการเสริม เซอร์โคเนียเข้าไปในไทเทเนีย ทำให้ได้รากฟันเทียมที่มีความแแข็งแรงเป็นพิเศษ
  • Straumann Roxolid Active: นำรากฟันเทียมรุ่น Roxolid เคลือบสาร Active agent ที่ช่วยทำให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกได้ดีขึ้น และเร็วขึ้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อย หรือมีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน

ราคารากฟันเทียม

          การทดแทนฟันด้วยรากฟันเทียม มีราคาที่หลากหลาย ขึ้นกับปัญหาในช่องปาก ความต้องการของคนไข้ และงบประมาณ

          ทางคลินิกมีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้คนไข้สามารถเลือกและวางแผนการชำระค่ารักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล

คลิก เพื่อดูราคา การผ่อนชำระ และโปรโมชั่นรากฟันเทียมของเด็นทัลไลฟ์

การรับประกันรากฟันเทียม

  • ส่วนของรากฟันเทียม จะมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน โดยคนไข้ต้องเข้ามาตรวจเช็คเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ครอบฟันเซรามิกบนรากฟันเทียม จะรับประกัน 5 ปี

ทันตแพทย์รากฟันเทียม

ประวัติและผลงานคุณหมอ

ทพญ.สรรพชุดา ใช้เจริญ

  • ทันแพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553
  • Oral Implant Certificate, Goethe-University Frankfurt and Continuing Education Center, Vejthani Hospital, 2556
  • Master degree in Oral implantology, J.W. Goethe-University, Frankfurt, 2563
  • Diplomat of International Congress of Oral Implantologists (ICOI), 2564

การบรรยาย

  • MOI congress, Innovation Jumps in Oral implantology, Germany, 2563
  • 2nd North America MOI congress, Canada, 2566

ติดต่อสอบถาม นัดหมาย(ฟรี)

เด็นทัลไลฟ์ คลินิก